
ตามหนังสือพจนานุกรมตามราชบัณฑิตสถานที่ผมได้สืบค้นดูได้ให้ไว้สองความหมายคือ แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้หัวแข็งตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย อันที่สองก็คือ กระด้าง ว่ายาก เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด และนั้นคือความหมายของคำว่า “คนหัวแข็ง”
แล้วมันสอดคล้องกับการปีนหน้าผาอย่างไรงั้นเหรอครับ เหมือนที่เคยพูดไว้หลายครั้งตอนที่ทำงานหรือสอนให้กับนักเรียนคือ ต้องทำความเข้าใจและยอมรับความจริงว่ากีฬาปีนหน้าผานั้นเป็นกิจกรรมที่มีอันตรายมาก และผลลัพท์ที่แย่ที่สุดของมันก็คือ การเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามวิธีที่จะช่วยให้เราไม่เจอกับอุบัติเหตุหรือเรื่องแย่เหล่านั้นมีอยู่หลากหลายวิธี สำหรับส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งแรกที่ทุกคนทำได้ก็คือ การป้องกัน (Prevention) หมายความว่า หยุดก่อนที่จะเกิดเรื่อง อันที่จริงมีอยู่หลายวิธีที่เราสามารถป้องกันได้ก่อนที่เราจะออกไปผจญภัยข้างนอก และอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญที่เราทำได้คืออะไรงั้นเหรอครับ? ใช่ครับ ป้องกันหัวของเรา แน่นอนว่าวัฒนธรรมของนักปีนหน้าผาแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ แต่เรื่องง่ายๆที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจให้ก็คือ การเลือกทำให้ตัวเองอยู่ใกล้กับความปลอดภัยให้มากที่สุด และปกป้องหัวที่ไม่แข็งของเราจากวัตถุที่หล่นลงมาหรือความผิดพลาดจากการตก
ข้อมูลพื้นฐานการเลือกหมวกกันน็อคปีนหน้าผา
1.แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- Hard Shell หมวกกันน็อคประเภทนี้มีความทนทานและทำจากวัสดุพลาสติกที่มีความแข็งแรง พร้อมกับสายรัดและด้านใต้มีโฟมที่ดูดซับแรงกระแทกเมื่อมีวัตถุกระทบใส่ ข้อดีของหมวกกันน็อคประเภทนี้คือ อายุการใช้งานทดทาน และราคาถูก
- Soft Shell หมวกกันน็อคประเภทนี้แน่นอนว่ามีน้ำหนักเบา ทำมาจากวัสดุโฟมจำพวกโพลิคารบอนเนต ที่เคลือบป้องกันด้านนอกกับโฟมโพลิโพพิลิน ที่ดูดซับแรงกระแทก เมื่อวัตถุตกลงมาแรงกระแทกก็ถูกกระจายผ่านการเสียรูปของหมวกกันน็อค ข้อดีของหมวกกันน็อคประเภทนี้คือ มีน้ำหนักเบา และการระบายอากาศที่ดี
2. ความพอดีของหมวกกันน็อค หัวเราแต่ละคนนั้นมีรูปทรงที่ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับเท้า ดังนั้นเวลาเราเลือกหมวกกันน็อค เราควรลองส่วมใส่หลายๆยี่ห้อว่าแบบไหนเข้ากับรูปทรงหัวของเราได้ดีที่สุด คลิกที่นี้ และเลือกตามกฎ 3 อย่างนี้ ความปลอดภัยที่เหมาะสม, ที่ปรับสายรัดคาง และ ความสะดวกในการปรับ
3. เลือกตามประเภทของการปีนหน้าผา
- Sport Climbing Multi- Pitch ที่อากาศร้อน หมวกกันน็อคแบบ Soft Shell ที่มีการระบายอากาศได้ดี
- Sport Climbing Single Pitch ที่อากาศร้อน เพราะว่าคุณสามารถถอดหมวกออกได้ในขณะที่คุณรอเวลาในการปีนหน้าของคุณ เลือกหมวกกันน็อคประเภท Hard Shell ที่มีราคาไม่สูงมากก็อาจเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางนึง
- คนบีเลย์ สำคัญมากที่ต้องส่วมหมวกกันน็อคขณะกำลังบีเลย์ เพื่อป้องกันสิ่งของหรือหินตกจากด้านบน คุณเลือกหมวกกันน็อคแบบไหนก็ได้ตามกำลังทรัพย์
4. อายุการใช้งานของหมวกกันน็อคและเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยน เมื่อเราเห็นรอยแตก, เว้าแว่ง, และเสียหาย และคุณควรตรวจสอบหมวกกันน็อคทุกครั้งก่อนการออกไปปีนหน้าผา
- หมวกกันน็อคปราศจากความเสียหายที่เห็นชัด รอยบุบนิดน้อยไม่เป็นไร แต่รอยเว้าใหญ่ควรพิจารณา
- Buckel หรือที่ปรับอื่นยังใช้ได้ดีไหม
- สายรัดยังอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่
- โฟมข้างในหมวกกันน็อคยังไม่หลุด
จำไว้ว่าความปลอดภัยของตัวเรานั้นคือความรับผิดชอบส่วนตัว ไม่มี บทความหรือวิดีโอที่ดีสามารถมาแทนการฝึกอุปนิสัยที่ดีได้ และเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง ควรที่จะฝึกฝนเทคนิคที่ดีและแนวทางความปลอดภัยก่อนออกไปทำกิจกรรมผจญภัย
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองเมื่อเดือน มีนาคม 2019 ขณะที่ผมและทีมงานจาก CMRCA กำลังทำงานจัดหา Site งานสำหรับทำเป็นสถานที่โรยตัวสำหรับกรุ๊ปที่กำลังจะมาในปลายเดือนนั้น โดยขณะที่ผมกับเพื่อนกำลังทดสอบการตกนั้น เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นคือก้อนหินที่เราใช้ทำเป็นแองเคอร์หลุดขึ้นมา ซึ่งมันทำให้เราตก แต่ด้วยความโชคดีเรามีอยู่ข้างเรามันก็ทำให้เราตกลงไปยังร่อง และไม่ทำให้ก้อนหินขนาดใหญ่นั้นมาทับเราจนเสียชิวิต จริงๆแล้วถ้าหินใหญ่ขนาดนั้นตกลงมาใส่โดยที่เราส่วมหมวกกันน็อคเราก็คงเสียชีวิตอยู่ดี แต่เพราะว่าเราโชคดีและเราสวมหมวกกันน็อค ทำให้เศษหินที่ร่วงลงมาใส่ที่ห่วงมันก็ยังทำให้ผมต้องเย็บแผลที่หายไป 10 กว่าเข็ม ลองคิดดูหากว่าคุณไม่มีหมวกกันน็อคละครับ?
ปีนอย่างปลอดภัยให้สนุก

Kudos Author
50.00฿